บริการเช่า แบคโฮ

SteedDEMOLITION.com

บริการเช่า แบคโฮ ทุกประเภทงาน โทร 086-773-5192, 02-915-1747

ประเมินราคา ฟรี

Steeddemolition.com

ประเมินราคา ณ ไซด์งานฟรี โทร 086-773-5192, 02-915-1747

เครียพื้นที่ เก็บเศษวัสดุ

SteedDEMOLITION.com

เครียพื้นที่ เก็บเศษวัสดุ ปรับพื้นที่ โทร 086-773-5192, 02-915-1747

ทุบตึก รื้อถอน อาคาร บ้าน โรงงาน

Steeddemolition.com

ทุบตึก รื้อถอน อาคาร โรงงาน บ้าน โดยทีมงานมืออาชีพ โทร 086-773-5192, 02-915-1747

ดูรายละเอียดที่ SteedDEMOLIION.com

Steeddemolition.com

ดูรายละเอียด ผลงาน ลูกค้า ของเราได้ที่ SteedDEMOLITION.com

เขียนโดย Yuthana Mahasukon On 21:25 0 ความคิดเห็น






รับรื้อถอน ทุบ ปรับปรุง แก้ไข อาคาร โรงงาน บ้าน โกดัง เก็บเศษวัสดุ ปรับพื้นที่ ถมดิน ให้เช่ารถแบ็คโฮ ปรึกษาเรื่องโีครงสร้าง ประเมิน ขออนุญาติ

โทร : 086-773-5192, 086-302-4776, 02-915-1747, 02-915-1749

www.SteedDEMOLITION.com


การที่คุณจะลงมือสร้างบ้านขึ้นมาแต่ละหลังนั้น คุณรู้รึป่าวว่าคุณควรคำนึงถึงอะไรบ้าง วันนี้เราเลยนำกฎหมายเล็กๆน้อยๆมาบอกเล่าให้ฟัง และหวังว่าคงจะมีประโยชน์กันคนที่กำลังคิดจะสร้างบ้าน

วิธีการตรวจสอบที่ดินก่อนการซื้อ ก่อนการซื้อจะต้องตรวจสอบดังนี้
1. ตรวจหลังโฉนด ชื่อเจ้าของ ติดจำนองหรือไม่
2. ทางเข้าออกถ้าติดทางสาธารณะไม่มีปัญหา แต่ถ้าติดที่ดินเอกชนเราได้รับภาระจำยอมหรือไม่
3. สำนักโยธาที่กทม.หรือฝ่ายโยธาที่เขต (ที่ดินของจังหวัดนั้น) ห้ามก่อสร้างประเภทอาคารอะไรบ้าง
4. การทางพิเศษอยู่ในแนวเวนคืนหรือไม่
5. กรมการบินพาณิชย์ อยู่ในเขตวิทยุสื่อสารการบิน หรือไม่
6. การไฟฟ้าฝ่ายผลิต หรือส่วนภูมิภาค อยู่ในแนว เดินสายไฟแรงสูงหรือไม่
7. กรมทางหลวง อยู่ในบริเวณโครงการตัดถนนหรือไม่

วิธีการขออนุญาตปลูก "บ้าน"
ก่อนอื่นต้องมีสถาปนิกและวิศวกรทำการออกแบบ และเขียนแบบให้ จากนั้นไปขอเอกสารการ ยื่นขออนุญาต จากทางเทศบาล แล้วนำมากรอกให้ครบถ้วน ประกอบด้วย
1. กรอกคำขออนุญาตก่อสร้างอาคาร ดัดแปลงอาคารหรือรื้อถอนอาคาร ข.1)
2. แบบแปลนแผนผัง จำนวน 5 ชุด
3. หนังสือรับรองว่าเป็นผู้ออกแบบ สถาปนิก และ วิศวกร พร้อมสำเนาใบอนุญาต
4. สำเนาโฉนดที่ดินที่จะก่อสร้าง
5. สำเนาบัตรประชาชน หรือทะเบียนบ้านเจ้าของอาคาร ในกรณีเป็นนิติบุคคลใช้หนังสือ

รับรองการจดทะเบียน จากนั้นนำเอกสารทั้งหมดไปยื่นต่อเทศบาล ซึ่งที่ดินนั้นตั้งอยู่ภายใน 45 วัน ต้องได้รับแจ้งว่าได้รับอนุญาตหรือไม่ ถ้าไม่อนุญาตจะต้องแก้ไขอะไรบ้าง เมื่อแก้ไขแล้ ก็ควรจะได้รับ อนุญาตและเสียค่าธรรมเนียมตารางเมตรละไม่เกิน 4 บาท

ข้อมูลเกี่ยวกับการก่อสร้าง ดัดแปลง ต่อเติม รื้อถอน
การก่อสร้าง ดัดแปลง ต่อเติม ถ้าอยู่ในเขตเทศบาล ต้องขออนุญาตกับนายช่างโยธาในแต่ละท้องถิ่น ถ้า เป็นอาคารใหญ่ก็ต้องติดต่อที่จังหวัด ส่วนการรื้อถอนถ้าอาคารสูงเกิน 15 เมตร และห่างจากอาคารอื่นน้อยกว่า 2 เมตร ก็ต้องขออนุญาตรื้อถอนเช่นกัน แต่ถ้าทั้งหมดที่ว่านี้อยู่นอกเขตเทศบาลก็ไม่ต้องขออนุญาตใดๆทั้งสิ้น

วิธีการเริ่มต้นที่จะสร้าง "บ้าน"
ติดต่อกับบริษัทที่รับสร้างบ้านต่างๆดูผลงานของบริษัทจากสถานที่จริงเพื่อคุณภาพของงาน
ดูแบบที่มีให้ถูกใจ และถูกต้องกับความต้องการหรือติดต่อกับสมาคมสถาปนิกสยาม เพื่อให้คำแนะนำ สถาปนิก หรือตระเวณดูบ้านที่คุณพอใจแล้วถามเจ้าของบ้านว่าสถาปนิกเป็นใครแล้วก็ติดต่อเอง

อัตราค่าออกแบบ "บ้าน"
อัตราค่าออกแบบเป็นไปตามมาตรฐาน ซึ่งกำหนดโดยสมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์ ซึ่งมีหลาย ประเภทด้วยกัน แต่จะเน้นประเภทบ้านพักอาศัยกับการตกแต่งภายในเท่านั้นบ้านพักอาศัยถ้างบประมาณก่อสร้าง ไม่เกิน 10 ล้าน จะคิดค่าออกแบบ 7.5 % ของงบประมาณการตกแต่งภายใน ถ้างบประมาณก่อสร้างไม่เกิน 10 ล้าน จะคิดค่าออกแบบ 10 % ของงบประมาณ ถ้างบประมาณมากกว่านี้ สัดส่วนของค่าออกแบบ ทั้ง 2 ชนิดจะลดลง

วิธีการแบ่งงานของสถาปนิกและมัณฑนากร
งานของสถาปนิกก็คือการออกแบบตัวบ้าน เพื่อครอบคลุมห้องต่างๆให้กลมกลืนและมีความงาม ต่อเนื่องกันพร้อมทั้งสามารถป้องกันแดด ฝน รวมถึงการรับลมตามธรรมชาติด้วย
งานของมัณฑนากรก็คือการออกแบบตกแต่งภายในรวมถึงรายละเอียดของผนัง พื้น ฝ้าเพดาน พร้อมทั้ง เฟอร์นิเจอร์ และส่วนประกอบต่างๆ ซึ่งจะต้องสอดคล้องกับประโยชน์ใช้สอยที่สถาปนิก ออกแบบไว้ เพราะฉะนั้นจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง ที่สถาปนิกกับมัฑนากรจะต้องออกแบบไปด้วยกัน เพื่อให้เกิดประโยชน์ใช้สอยอย่างสูงสุด รวมถึงความงามที่ต่อเนื่องระหว่างภายใน และภายนอกบ้าน

จรรยาบรรณของสถาปนิก
จรรยาบรรณที่สำคัญๆ ที่ควรจะทราบมี ดังนี้
1. ต้องทำงานโดยซื่อสัตย์ ไม่ทิ้งงานหากไม่มีเหตุอันควร
2. ห้ามใช้แบบที่เคยออกแบบมาแล้วให้คนอื่น ยกเว้นเจ้าของเดิมจะอนุญาต
3. ไม่ตรวจงานสถาปนิกอื่น เว้นแต่จะแจ้งให้สถาปนิกนั้นทราบก่อน
4. ไม่หางานโดยลดหรือประกวดค่าแบบ
5. ไม่แย่งงานสถาปนิกอื่น
6. ห้ามกินค่าคอมมิชชั่น

**ถ้าสถาปนิกไม่ทำตามก็จะมีโทษจากคณะกรรมการควบคุมการประกอบวิชาชีพ


รื้อถอน ทุบตึก บริษััท สตีด จำกัด 086-773-5192 ,086-302-4776, 02-915-1747

การรื้อถอนอาคาร

เขียนโดย Yuthana Mahasukon On 21:22 0 ความคิดเห็น

เชื่อว่าหลายๆ ท่านคงจะจำเหตุการณ์ การพังทลายของอาคารห้างนิวเวิล์ดได้ดี สาเหตุก็เนื่องมาจากการทำการรื้อถอนอาคารที่ผิดวิธี และการขาดจิตสำนึกในความรับผิดชอบต่อสังคมของคนบางกลุ่มที่ไม่ยอมปฏิบัติตามข้อกำหนดของกฏหมาย จนทำให้ผู้อื่นได้รับความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สิน

สำหรับในประเทยไทยเราดูเหมือนจะให้ความสำคัญต่อการรื้อถอนอาคารไม่มากเท่ากับงานก่อสร้างอาคาร ซึ่งบางท่านอาจคิดว่า การรื้อถอนมันจะไปยากอะไร แค่ทุบๆ มันทิ้งไปก็เท่านั้น ทั้งที่ความเป็นจริงแล้วการรื้อถอนอาคารเป็นงานที่ต้องให้ความสำคัญ ต้องมีการเตรียมการที่ดี มีการวางแผนงานและกำหนดขั้นตอนการทำงานอย่างชัดเจน เช่นเดียวกับการก่อสร้างอาคาร นอกจากนี้บางกรณีอาจต้องประสบปัญหาข้อจำกัดในเรื่องพื้นที่ในการทำงาน และความเสียหายของตัวอาคารที่จะรื้อถอนอีกด้วย ซึ่งผู้เชี่ยวชาญทางด้านการรื้อถอนอาคาร ท่านมีขั้นตอนการเตรียมการและวิธีการปฏิบัติงานดังต่อไปนี้

ขั้นตอนการเตรียมการ

  1. ยกเลิกระบบน้ำประปา - ไฟฟ้า และระบบการสื่อสารทั้งหมด
  2. เตรียมระบบน้ำประปา - ไฟฟ้า โทรศัพท์ เครื่องมือสื่อสารภายในหน่วยงาน อุปกรณ์ดับเพลิง ผ้าใบกันฝุ่น ตลอดจนอุปกรณ์รื้อถอนต่างๆ หากจำเป็นต้องมีนั่งร้านหรือบริเวณที่ต้องมีแผงกันวัสดุตกหล่นเพื่อป้องกันความปลอดภัย ให้ดำเนินการได้ก่อน
  3. ถอด แกะ อุปกรณ์ในส่วนที่เป็นกระจก หรือส่วนที่แตกหักง่าย และรื้อถอนผนังและส่วนต่างๆ บริเวณรอบข้างอาคารทั้งหมด ที่ล่อแหลมต่ออันตราย เช่น ผนังก่ออิฐ ริมอาคารที่แตกร้าวมาก หรือเศษวัสดุที่อาจล่วงหล่นได้ เมื่อถูกพายุพัด
  4. รื้อถอนหรือถอดส่วนที่สามารถให้แสงสว่างเพื่อสะดวกต่อการทำงานมากขึ้น
  5. รื้อถอนส่วนงานฝ้าเพดาน เช่น หลอดไฟ - โคมไฟ วัสดุตกแต่ง - ฝ้าเพดาน พร้อมทำการขนย้าย
  6. รื้อถอนส่วนผนังกั้นห้องต่างๆ
  7. หลังจากรื้อถอนส่วนตกแต่งออกจนหมดเหลือแต่ผนังกั้นห้องแล้ว ให้เตรียมเส้นทางขนย้ายเครื่องจักรขึ้นชั้นบน พร้อมเตรียมเส้นทางขนย้ายเศษซากจากชั้นบนลงชั้นล่าง
  8. ขนย้ายเครื่องจักรต่างๆ เช่น ระบบปรับอากาศ ไฟฟ้า หรืออื่นๆ ลงชั้นล่างและออกจากหน่วยงาน
  9. ทุบพื้นอาคารของชั้นดาดฟ้าทั้งหมด พ้อมขนย้ายลงชั้นล่างทางช่องลิฟท์ หรือทางเส้นทางที่ได้เตรียมไว้ และขนออกจากหน่วยงาน
  10. ทุบ - ตัด คานชั้นบนสุด - ย่อย และขนย้ายลงชั้นล่าง และขนออกจากหน่วยงาน
  11. ทุบ - ตัด เสาชั้นบนสุด - ย่อย และขนย้ายลงชั้นล่าง
  12. ดำเนินการตามข้อ 9-11 จนถึงพื้นชั้น 3 หรือ 4 ของอาคาร (ความสูงประมาณ 10 เมตร จากพื้นชั้นล่าง)
  13. ทุบพื้นชั้น 2 ของอาคารทั้งหมด - ทุบพื้นชั้น 3 ของอาคารทั้งหมด - ทุบพื้นชั้น 4 ของอาคารทั้งหมด
  14. ทุบ - ตัด คาน เสา ส่วนโครงสร้างที่เหลือจากชั้นบนลงชั้นล่าง
  15. ขนย้ายเศษซากออกจากหน่วยงานตลอดเวลาการรื้อถอนแต่ละชั้น โดยต้องจัดเวลาการขนย้ายจาก ชั้นบนลงชั้นล่าง และการขนย้ายออกให้เหมาะเพื่อไม่ให้มีเศษซากกองสะสมอยู่บนพื้นอาคาร
    • อาคารบางหลังสามารถรื้อถอนโดยการดึงลงมาจาก ชั้น 8 ถึง ชั้น 2 หากบริเวณหน่วยงานมีพื้นที่ ที่กว้างพอ
    • ระหว่างการรื้อถอนของแต่ละชั้น จะต้องมีแผงกันวัสดุตกหล่นรอบข้างอาคาร มีการฉีดน้ำดักฝุ่นตลอดเวลา ก่อนการลำเลียงวัสดุลงชั้นล่างต้องฉีดน้ำให้ชุ่ม และต้องมีผ้าใบกันฝุ่นด้วย

ข้อควรปฏิบัติและเทคนิคบางประการในการรื้อถอนอาคาร

  1. การรื้อถอนอาคารต้องทำการขออนุญาตรื้อถอนต่อหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง เช่นเดียวกับการขออนุญาตก่อสร้างอาคาร
  2. ก่อนทำการรื้อถอนอาคาร ควรพิจารณาพื้นที่โดยรอบอาคาร ลักษณะโครงสร้างอาคาร ตลอดจนทำความเข้าใจในขั้นตอนการก่อสร้างของอาคารที่จะทำการรื้อถอน เพื่อที่จะได้วางแผน เตรียมการและกำหนดขั้นตอนวิธีการรื้อถอนได้อย่างถูกต้อง ปลอดภัย
  3. ขณะทำการรื้อถอน ควรขนย้ายเศษซากจากการรื้อถอนออกจากตัวอาคารให้หมดทันที ไม่ควรให้มีเศษซากกองสะสมอยู่บนตัวอาคาร เพราะอาจทำให้เกิดการพังทลายลงมาได้
  4. ช่องลิฟท์เป็นเส้นทางลำเลียงวัสดุจากการรื้อถอนที่ดีที่สุดเส้นทางหนึ่ง เนื่องจากมีความแข็งแรงสูง
  5. ตัวอย่างเทคนิคในการรื้อถอนอาคาร

    จากรูปที่1 เป็นตัวอย่างอาคารที่เกิดการทรุดตัวซึ่งอาจล้มทับอาคารข้างเคียงได้จึงต้องทำการรื้อถอนออก โดยมีเทคนิคง่ายๆ ในการรื้อถอนที่ควรปฏิบัติ คือ ควรทำการทุบ รื้อถอนอาคารส่วนที่ แรเงาก่อน เพื่อเปลี่ยนตำแหน่งของจุด

    CG. ให้ย้ายไปอยู่ที่จุด
    CG.1 เพื่อป้องกันไม่ให้ล้มไปทับอาคารข้างเคียงขณะทำการรื้อถอนได้

รูปที่ 2 เป็นกรณีตัวอย่างโครงหลังคา โครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็ก ซึ่งคานมีขนาดใหญ่มากหากทำการรื้อถอนคานลงมากระแทกพื้นจะทำให้พื้นทะลุพังทลายลงได้ ซึ่งมีเทคนิคในการรื้อถอนดังนี้คิือ
  • ตัดเสาต้นข้างเคียง ให้มีความสูงที่พอเหมาะ
  • ตัดคานตัวเล็กออกก่อน ซึ่งจะทำให้เหลือคานตัวใหญ่วางอยู่บนเสา
  • ตัดคานตัวใหญ่ แล้วใช้ลวดสริงดึงลงมาวางที่เสาข้างเคียง เพื่อให้น้ำหนักถ่ายลงเสา สู่ฐานรากและไม่ทำให้พื้นทะลุพังทลายลงมา

ในกรณีโครงสร้างอื่นๆ ที่มีน้ำหนักมากๆ ก็สามารถทำได้เช่นเดียวกัน โดยการถ่าย น้ำหนักลง คาน หรือ เสาเพื่อหลีกเลี่ยงการถ่ายน้ำหนักลงพื้นโดยตรง

หลังจากที่ได้เล่าถึง ขั้นตอน วิธีการ และเทคนิคต่างๆ ในการรื้อถอนอาคารมาพอสมควรแล้ว หวังเป็นอย่างยิ่งว่าท่านผู้อ่าน จะให้ความสำคัญต่องานรื้อถอนอาคารมากขึ้น และช่วยกันควบคุมดูแลงานรื้อถอนอาคารให้เป็นไปตามขั้นตอนที่ถูกต้องเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดเหตุการณ์น่าสลดใจอย่างที่ไม่ควรจะเกิด เช่นที่แล้วๆ มา เพราะผมเชื่อเป็นอย่างยิ่งว่าถ้าทุกฝ่าย ไม่ว่าจะเป็น

  • ผู้ประกอบการเจ้าของอาคาร
  • เจ้าหน้าที่หน่วยงานรับ
  • วิศวกรผู้ควบคุมงาน
  • ผู้ประกอบการรื้อถอน (ผู้รับเหมา)

ให้ความร่วมมือที่ดีต่อกัน มีจรรยาบรรณ ไม่ละเลยในหน้าที่ ปฏิบัติตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด แล้วเหตุการณ์ร้ายๆ และความเสียหายในชีวิตและทรัพย์สินก็จะไม่เกิดขึ้นอย่างแน่นอน

" คุณ.. ในฐานะประชาชนคนหนึ่งก็อย่าลืมช่วยกัน เป็นหู เป็นตา ให้สังคมนะครับ "


ขอบคุณข้อมูลจาก http://www.pps.co.th